Friday, May 15, 2020

ยอดนักประดิษฐ์ หญิงขวัญใจชาว แอฟริกันที่ยากจน

คิดค้นตู้เย็นไม่ใช้ไฟฟ้า ขวัญใจชาว แอฟริกันที่ยากจน   เธอผู้นั้นคือ

เอมิลี่ คัมมินส์ (Emily Cummins)

ประวัติ
สาวชาวอังกฤษผู้นี้ เมื่ออายุสี่ขวบเธอได้รับค้อนเป็นของขวัญจาก คุณตา ทำให้ เอมิลี่มีของเล่นที่ถูกใจและชอบใช้เวลาส่วนใหญ่ช่วยคุณตาทำงาน ซึ่ง ณ เวลานั้น เอมิลี่ไม่รู้เลยว่า เป็นจุดหล่อหลอมให้เธอเมื่อเติบโตขึ้นเป็นนักประดิษฐ์
นอกเสียจากมีของเล่นตามประสาเด็กๆ  

แต่ละวันใน โรงเก็บของกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่เอมิลี่ตัวน้อยขลุกอยู่วันละหลายชั่วโมงโดยไม่เบื่อ
เธอเพลิดเพลินกับการเฝ้ามองคุณตาสร้างของเล่นหรือประกอบกล่องเครื่องประดับจากวัสดุเหลือใช้ ขณะเดียวกันก็ลงมือ ก็อกๆ แก็กๆ ทำโน่นนี่นั่นเองบ้างตามประสา เด็กๆ  โดยมีคุณตาคอยสอนและให้คำแนะนำอยู่ไม่ห่าง
ภาพจำและประสบการณ์ความสนุกสนานเหล่านี้ สร้าง เด็กหญิงเข้าสู่ห้วงความเชื่อมั่นว่า เธอสามารถประดิษฐ์ทุกสิ่งทุกอย่างได้จากวัสดุเหลือใช้
ขอเพียงมีเครื่องมือช่างของคุณตาเป็นอาวุธคู่กาย

คุณ ตาคงไม่ได้ให้ฆ้อนเล่มนี้ นะครับ


ผลงานชิ้น แรก
วันเวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก สร้างเสริมความรู้จัก

ประเภทวัสดุหลากหลายขยายวงกว้าง ในขณะเดียวกัน ทักษะการใช้เครื่องมือนานาชนิดที่เพิ่มพูน
เอมิลี่ หลงเสน่ห์งานอดิเรกเชิงช่างเข้าเต็มเปา
กระทั่งเปล่งประกายฉายแววนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ด้วยวัย ๑๕ ปีกับ เป็นชิ้นแรก คือ 
“เครื่องช่วยบีบยาสีฟัน”
ผลงานสร้างสรรค์มีแรงบันดาลใจจากอาการข้ออักเสบของคุณปู่
ซึ่งส่งผลให้ชายชราบีบยาสีฟันได้อย่างยากลำบาก
เอมิลี่แก้ปัญหาโดยเปลี่ยนการบีบเป็นการกด
เธอสร้างกล่องใส่หลอดยาสีฟันพร้อมคันโยก
เพียงใช้กำปั้น ข้อมือ แขน หรือข้อศอกกดคันโยกเบาๆ กลไกภายในจะบีบให้ยาสีฟันไหลออกมาอย่างง่ายดาย แถมยังรีดเนื้อยาสีฟันได้หมดเกลี้ยงตั้งแต่ก้นหลอด

                                                                                  

ผลงานชิ้น สอง                                          
แล้วความสนใจใช้สิ่งประดิษฐ์แก้ปัญหาให้คนใกล้ตัว
ก็คืบคลานเป็นจริงเป็นจังในการแก้ปัญหาของประเทศ
กำลังพัฒนาในช่วง ที่เอมิลี่ยังเป็นนักเรียนไฮสคูลนั่นเอง
เริ่มจากงานออกแบบรถเข็นบรรทุกถังน้ำ
ที่ช่วยให้ผู้หญิงและเด็กๆ ในทวีปแอฟริกา
ขนน้ำกลับบ้านในปริมาณมากขึ้นในแต่ละเที่ยวที่ออกเดินหาแหล่งน้ำ







ผลงานสร้างชื่อใน  3 โลก
“ตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้า” ผลงานชิ้นยอดเยี่ยมซึ่งกวาดรางวัล
และสร้างชื่อให้สาวชาวอังกฤษผู้นี้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง


เอมิลี่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและการโหมใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เธอตั้งคำถามกับตัวเอง หากถึงวันที่พลังงานเข้าใกล้ภาวะขาดแคลนเครื่องไฟฟ้าชิ้นใดที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
และพอจะมีหนทางสร้างใหม่ในแบบที่ไม่พึ่งพากระแสไฟฟ้าได้บ้าง หลังผ่านขั้นตอนหาข้อมูลเบื้องต้น คำตอบที่ตรงใจมากสุดก็คือตู้เย็น
เธอทำการบ้านนอกห้องเรียนค้นคว้ากลไกผลิตความเย็นที่ไม่ซับซ้อนอยู่นานเป็นปี
กระทั่งประดิษฐ์เครื่องต้นแบบของตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้ารุ่น ๑ ได้เป็นผลสำเร็จในปี ๒๐๐๖ อายุ 18 ปี
จึงตัดสินใจใช้เวลาช่วงรอยต่อระหว่างจบการศึกษาชั้นมัธยม
และรอสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยซึ่งจะว่างเว้นจากการเรียนประมาณ ๕ เดือน
เพื่อออกเดินทางไปยังประเทศนามิเบีย ทวีปแอฟริกา ในฐานะอาสาสมัครด้านการศึกษา
พร้อมกับหอบหิ้วสิ่งประดิษฐ์ไปทดสอบการใช้งานจริงในพื้นที่ไม่มี กระแสไฟฟ้า
ปรากฏว่า เสียงตอบรับดีมาก
เอมิลี่รู้ทันทีสิ่งประดิษฐ์ของเธอเอื้อประโยชน์ต่อชาวแอฟริกันอีกหลายพันชีวิต จึงไม่ลังเลที่จะเปิดห้องเรียนชั่วคราวและสอนให้ชาวบ้านที่นั่นได้ลงมือสร้างกันเอง
เมื่อครบกำหนด เอมิลี่เดินทางกลับอังกฤษเพื่อเรียนต่อในสาขาการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยลีดส์
ซึ่งแน่นอนว่าเธอไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว แต่แบ่งเวลาสำหรับงานพัฒนาตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้ารุ่น ๒
โดยวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น อุณหภูมิต่ำกว่าเดิม ควบคุมความเย็นได้เสถียรกว่าเดิม
และเพิ่มเติมความพิถีพิถันเข้าไปอีก เพื่อให้เหมาะสำหรับการผลิตขายในเชิงพาณิชย์
ย้อนแนวคิดสิ่งประดิษฐ์ล่าสุด

ว่ากันตามจริง
เอมิลี่ไม่ใช่คนแรกหรอกนะที่คิดค้นบรรจุภัณฑ์ซึ่งอาศัยกลไกการระเหยของน้ำ ซึ่งเป็นหลักธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว(จะมีมนุษย์หรือไม่มี มันก็ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป  เช่นเดียวกับ องค์สัมมาพุทธเจ้า ที่ คิดได้ เรียกว่า ตรัสรู้ หลักความจริงทางธรรม)  เป็นตัวสร้างความเย็น
เพราะหากย้อนกลับไปศึกษาอารยธรรมเมื่อราว ๓ พันปีที่แล้ว
ชาวบ้านทางตอนเหนือของอียิปต์ต่างก็นิยมนำภาชนะดินเผาที่มีรูพรุน
ไปแช่น้ำจนเปียกโชกแล้วใส่อาหารไว้ภายใน
เพื่อว่าเมื่อน้ำระเหยออกจากเนื้อดินเผาอย่างช้าๆ
อุณหภูมิภายในจะค่อยๆ ลดลง จึงช่วยให้อาหารเน่าเสียช้าลง

นอกจากนี้ยังมีครูท้องถิ่นชาวไนจีเรียชื่อ โมฮัมหมัด บาห์อับบา
ผู้ประดิษฐ์ระบบรักษาความเย็นเพื่อชะลอการเน่าเสียของอาหารสดหรือ
“Pot-in-Pot Preservation Cooling System”
ซึ่งก็ได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็นหนึ่งในนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แห่งปี  2001
และคว้ารางวัลโรเล็กซ์พร้อมเงิน ๗๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว

สิ่งประดิษฐ์ของคุณครูโมฮัมหมัดใช้ภาชนะดินเผาสองใบ
ใบเล็กซ้อนอยู่ในใบใหญ่และเติมทรายเปียกลงในช่องว่างระหว่างภาชนะสองใบ
บรรจุผลไม้และผักในภาชนะดินเผาใบเล็กจนเต็มแล้วปิดคลุมทั้งหมดด้วยผ้าเปียก
สามารถยืดอายุการเก็บผักผลไม้ได้นาน ๓-๔ สัปดาห์



















การทดลองที่มีประโยชน์


links

รายละเอียด ตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้าของ เอมิลี่

ตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้าของเอมิลี่ผ่านการออกแบบให้ทำงานได้ดีกว่านั้น
แม้ในภาพรวมมันประกอบขึ้นจากภาชนะทรงกระบอกที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น
คล้ายกับผลงานของคุณครูโมฮัมหมัด แต่เธออธิบายว่า
ภาชนะทรงกระบอกช่วยกระจายความเย็นได้ทั่วถึง จึงลดจุดอับที่แบคทีเรียจะเจริญเติบโต
โดยใบใหญ่ด้านนอกสามารถดัดแปลงทำจากไม้ พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ขณะที่ช่องว่างระหว่างภาชนะจะอัดแน่นด้วยขนแกะ ขนสัตว์ ทราย ดิน หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ


ส่วนที่เจ๋งที่สุดเห็นจะเป็นใบเล็กชั้นในซึ่งเอมิลี่กำหนดให้ทำจากโลหะที่ปิดมิดชิด
เนื้อสัตว์ นม หรือยารักษาโรคที่บรรจุไว้ภายในจะไม่สัมผัสกับน้ำและความชื้นโดยตรง
จึงอยู่ในสภาพแห้ง สะอาด และปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อโรค
นั่นทำให้ผู้ใช้งานสามารถตักน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติใดๆ มาเติมเพื่อสตาร์ตการทำงานได้ทันที
โดยไม่ต้องเสียเวลาจัดหาน้ำสะอาด
หลังจากเติมน้ำและบรรจุของลงในภาชนะแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการตากแดด
เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์น้ำจะค่อยๆ ระเหยเป็นไอ
พร้อมกับดึงความร้อนจากภาชนะโลหะชั้นในออกมาด้วย
อุณหภูมิจึงลดลงเรื่อยๆ โดยทำความเย็นได้ต่ำสุดที่ ๖ องศาเซลเซียส
ทั้งกลไกไม่ซับซ้อนและเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นเหล่านี้ช่วยให้สิ่งประดิษฐ์ของเอมิลี่
ใช้งานได้อย่างสะดวกเหมาะเหม็งในท้องถิ่นทุรกันดารที่ขาดแคลนทั้งไฟฟ้าและน้ำสะอาด
…มันถูกอกถูกใจชาวนามีเบียถึงขนาดยกให้เธอเป็น “The Fridge Lady” ไปแล้ว

ชีวิตในมหาวิทยาลัยลีดส์
ครั้นก้าวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย ความยากยิ่งเพิ่มทวีคูณ
เมื่อต้องจัดสมดุลระหว่างการเรียนและโครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่ชื่นชอบ
โชคดีที่มหาวิทยาลัยลีดส์มองเห็นความกระตือรือร้นและความมุ่งมั่นพยายาม
จึงสนับสนุนอย่างเต็มที่ นั่นเปิดโอกาสให้เอมิลี่จัดตารางเข้าเรียนสัปดาห์ละ ๒ วัน
บ้านเรา ยังต้องเรียนเพิ่ม วันเสาร์ ( ติวเสริมพิเศษ วันอาทิตย์ แต่ก็ยัง ไม่ถึงดวงดาว)
และมีเวลาสำหรับโปรเจ็คต์วิจัยนอกหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้าเจนเนอเรชั่นที่ ๒
แถมยังสามารถสำเร็จการศึกษาด้วยปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเสียด้วย
หลังจากหน้าที่การเรียนจบลงอย่างสวยงามในปี 2010
เอมิลี่ตั้งใจทุ่มเทเวลาให้กับงานสองส่วนอย่างเต็มที่ 
หนึ่งคือ  งานโครงการสิ่งประดิษฐ์เพื่อความยั่งยืนซึ่งจะเดินหน้าต่อไปไม่รู้จบ
อีกหนึ่งคือ  งานในฐานะตัวแทนแคมเปญ “Make your Mark”
ซึ่งต้องปลุกเร้าและสร้างกำลังใจให้คนรุ่นใหม่กล้าลงมือแปรรูปไอเดียที่วาดฝัน
ให้ออกมาสู่โลกแห่งความจริง ด้วยการเดินสายบอกเล่าประสบการณ์
และแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมแก่นักเรียนและผู้คนในชุมชนต่างๆ

“การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อความยั่งยืน คุณต้องรักและตั้งใจแน่วแน่
มันไม่ง่าย แต่ฉันจะบอกเสมอว่า ต้องเริ่มก้าวแรกให้ได้
ต่อให้ล้มเหลวในตอนท้าย คุณก็ยังได้เรียนรู้บางอย่างในระหว่างก้าวเดิน”
…เอมิลี่เชื่ออย่างนั้นจริงๆ


เอมิลี่เพิ่งอายุ ๒๕ ปีเต็มเมื่อ 2/2013 
ที่ผ่านมาหากเปรียบเทียบกับรายการรางวัลยาวเป็นหางว่าวที่เธอได้รับจากการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์   Award
ก็ต้องยอมรับว่า นี่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย
ที่สำคัญ มันไม่ใช่ความสำเร็จโดยง่ายหรือโดยบังเอิญ
นับตั้งแต่การหาทุนเพื่อสานฝันตัวเอง นอกจากเงินเก็บส่วนตัว
เธอยังขวนขวายล่ารางวัลจากเวทีประกวดงานออกแบบหรือสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักเรียน
เธอทำงานพาร์ทไทม์ และเธอก็พาตัวเองเข้าไปคุยกับบริษัทท้องถิ่นเพื่อขอการสนับสนุนด้านวัตถุดิบ

she met the Queen at Buckingham Palace after being invited to a prestigious women in business 


หมายเหตุ-บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกผ่านทางคอลัมน์คนหมุนโลกบนเว็บไซต์ของมูลนิธิโลกสีเขียว
ต้นฉบับ click            ผลงาน  Click
หมายเหตุ
อ่านจบแล้วหนูควรจะต้อง อธิบาย  Pure Science ได้ ดังนี้
1. การระเหย (Evaporation)   VS    การกลายเป็นไอ (Vaporization)  
             2 คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร  (ความรู้พื้นฐานนี้สำคัญมากถ้าไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ยากที่จะ จินตนาการต่อยอดแบบเหนือชั้น)
2.   เพราะเหตุใด ภาชนะดินเผา (pottery) เมื่อใส่น้ำลงไป แล้วจะมีลักษณะพิเศษคือมีความเย็น
3.   ให้อธิบายว่า ตู้เย็นของ โมฮัมหมัด กับ ของ เอมิลี่ แตกต่างกันอย่างไร บ้าง
4. เมื่อหนู สามารถตอบคำถาม  1-3 ได้แล้ว ซึ่งมันคือ  Pure Science  ต่อไป จะเป็น จินตนาการแล้ว
      อยากทราบว่า  จินตนาการสิ่งแรกเลยคืออะไร
     เมื่อหนูได้ จินตนาการสิ่งแรกแล้ว
     พ่อจะให้ลูกสร้างผลงานชิ้นแรก ระดับชิงถ้วยชิงเหรียญ



5.  ให้ออกแบบ ชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพกว่า ของ เอมิลี่ ในการควบคุมอุณหภูมิความเย็น
      โดย  มีต้นทุนในการทำประหยัด
               ต้นทุนในการ operate ต่ำ

              เหมาะสมที่ใช้ในประเทศของเรา
              ถ้าเราสามารถควบคุมความเย็นได้  จะนำไปประยุกต์ใช้ทางด้านใด




No comments:

Post a Comment