Monday, January 24, 2022

นับราศีแบบไหนถึงถูกต้อง

 มีการวิเคราะห์ไว้ดังนี้

แบบที่ 1 คือ เริ่มที่กลางเดือนของราศีนั้นๆ (เป็นราศีที่เป็นหมู่ดาวบนฟ้าจริงๆ)
แบบที่ 2 คือ เริ่มราววันที่ 21-23 ของเดือนก่อน (เป็นแบบฝรั่งทางตะวันตกใช้แบ่งราศีกัน)

แบบที่ 1 เริ่มนับจากกลางเดือน

เป็นราศีที่เป็นหมู่ดาวบนฟ้าจริงๆ  แบบ Sidereal Year  (365.256363 วัน)โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อิงกับดาวฤกษ์  พวกชอบเพ้อเจ้อ วันๆ เอาแต่ดูดวงชะตา ไร้สาระสิ้นดี

ผู้ที่เกิดราศีเมษ : ตั้งแต่ 13 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม
ผู้ที่เกิดราศีพฤษก : ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน
ผู้ที่เกิดราศีเมถุน : ตั้งแต่ 15 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม
ผู้ที่เกิดราศีกรกฎ : ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม

ผู้ที่เกิดราศีสิงห์ : ตั้งแต่ 16 สิงหาคม – 16 กันยายน
ผู้ที่เกิดราศีกันย์ : ตั้งแต่ 17 กันยายน – 16 ตุลาคม
ผู้ที่เกิดราศีตุลย์ : ตั้งแต่ 17 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน
ผู้ที่เกิดราศีพิจิก : ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม

ผู้ที่เกิดราศีธนู : ตั้งแต่ 16 ธันวาคม – 14 มกราคม
ผู้ที่เกิดราศีมังกร : ตั้งแต่ 15 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์
ผู้ที่เกิดราศีกุมภ์ : ตั้งแต่ 13 กุมภาพันธ์ – 14 มีนาคม
ผู้ที่เกิดราศีมีน : ตั้งแต่ 15 มีนาคม – 12 เมษายน


แบบที่ 2 คือ เริ่มราววันที่ 21-23 ของเดือนก่อน

เป็นแบบฝรั่งทางตะวันตกใช้แบ่งราศีกัน   แบบ Vernal Equibnox  สุริยวิถี ตัดกับแกนหมุนของโลก  แบบนี้จะเรียกว่า  Tropical year มีค่าเท่ากับ (365.24219 )วัน  ฤดูกาล จะตรงกับ ปี ปฏิทินทำให้คนทั้วไป ทำอาชีพเพาะปลูกได้ วางแผน ล่วงหน้าในการประกอบอาชีพ

ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้

                วสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน

                คิมหันตฤดูหรือฤดูร้อนตั้งแต่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กันยายน

                สารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วงตั้งแต่ 22 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม

                เหมันตฤดูหรือฤดูหนาว : ตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มีนาคม

วสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ

           – (21 มี.ค. – 20 เม.ย.)

            – (21 เม.ย. – 20 พ.ค )

            – (21 พ.ค – 20 มิ.ย. )


กลุ่มดาวพฤษภ (Taurus) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ วัว – (21 เม.ย. – 20 พ.ค.)
กลุ่มดาวเมถุน (Gemini) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ คนคู่– (21 พ.ค. – 21 มิ.ย.)
กลุ่มดาวกรกฏ (Cancer) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ ปู – (22 มิ.ย. – 23 ก.ค.)
กลุ่มดาวสิงห์ (Leo) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ สิงโต– (24 ก.ค. -23 ส.ค)

กลุ่มดาวกันย์ (Virgo) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ หญิงสาว– (24 ส.ค. – 23 ก.ย.)
กลุ่มดาวตุล (Libra) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ คันชั่ง– (24 ก.ย. – 23 ต.ค.)
กลุ่มดาวพิจิก (Scorpio) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ แมงป่อง – (24 ต.ค. – 22 พ.ย.)
กลุ่มดาวธนู (Sagittarius) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ ธนู – (23 พ.ย. -21 ธ.ค.)

กลุ่มดาวมกร (Capricorn) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ แพะทะเล – (22 ธ.ค. – 20 ม.ค.)
กลุ่มดาวกุมภ์ (Aquarius) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ คนแบกหม้อน้ำ – (21 ม.ค. – 19 ก.พ.)
กลุ่มดาวมีน (Pisces) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ ปลาคู่ – (20 ก.พ. – 20 มี.ค.)



ปีศักราช


        จะเห็นว่าวิชาดาราศาสตร์ของชาวตะวันตกในปัจจุบันนั้น สวนทางกับวิชาดาราศาสตร์สมัยโบราณไปอย่างสิ้นเชิง ความขัดแย้งแรกที่สามารถรับรู้ได้คือ

  1. เรื่องจักรราศี หากถือตามคติของดาราศาสตร์อารยธรรมสินธุ และเมโสโปรเตเมีย ก็ต้องกล่าวว่า ปีหนึ่งมี 12 เดือน เดือนละประมาณ 30 - 31 วัน ตามขอบเขตของจักรราศีที่มีทั้งหมด 12 ราศี โดยแต่ละราศีมีพื้นที่เท่ากันทั้งหมดคือ 30 องศา
  2. แต่หากยึดตามทฤษฎีของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ ต้องกล่าวว่าราศีทั้งหมดมี 13 ราศี ขอบเขตของราศีไม่เท่ากัน ราศีพิจิกมีพื้นที่เพียง 7 องศาเท่านั้น และในปีหนึ่ง ๆ นั้นมีทั้งหมด 13 เดือน แต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันอีกด้วย  ราศีที่  13 คือ  NASA เพิ่ม 'คนแบกงู'

    และเนื่องจากหลักเกณฑ์การมองท้องฟ้าของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์แบบโบราณ มีลักษณะแตกต่างกันเช่นนี้ ทำให้ 0 องศาของราศีเมษ ของทั้ง 2 ระบบมีลักษณะแตกต่างกัน 
  • โดย 0 องศาราศีเมษของดาราศาสตร์แบบโบราณนั้น จะยึดที่ตำแหน่งกลุ่มดาวจริงบนท้องฟ้า ในหลักการดาราศาสตร์ของอินเดียก็ยึดว่า 0 องศาราศีเมษนั้น อยู่ตรงข้ามกับดาวจิตรา หรือดาวสไปกาของกลุ่มดาวราศีกันย์แบบพอดิบพอดี
  • แต่ 0 องศาราศีเมษของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์นั้นไม่เหมือนกัน เขาไม่สนใจกลุ่มดาวอะไรทั้งสิ้น เขาสนใจเพียงจุดวิษุวัต (equinox) หรือจุดราตรีเสมอภาคเท่านั้น จุดราตรีเสมอภาคคือจุดที่ทำให้เวลากลางวันและกลางคืนมีระยะเวลา 12 ชั่วโมงเท่ากัน ในปีหนึ่งนั้นจะมีเพียง 2 ระยะเท่านั้น ระยะแรกเรียกว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เกิดขึ้นประมาณวันที่ 20 - 21 มีนาคมของทุกปี และระยะที่สองคือ ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เกิดขึ้นประมาณวันที่ 22 - 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งจุดวิษุวัตนี้ มันเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง หากเทียบกับแผนที่ดาราศาสตร์แบบโบราณ หรือแบบโหราศาสตร์ที่เราใช้กันทุกวัน จุดวิษุวัตจะอยู่ที่ประมาณ 6 องศาราศีมีน เนื่องจากมันเคลื่อนจาก 0 องศาราศีเมษเดิมตามระยะจริงของกลุ่มดาว เข้าไปในกลุ่มดาวราศีมีนทีละน้อยประมาณ 50 ฟิลิปดาต่อปี ในปัจจุบันนี้เคล่ื่อนไปประมาณ 24 องศาแล้ว พูดง่าย ๆ ตามภาษาชาวบ้านคือ มันล้ำเข้าไปในราศีมีน 24 องศา หรือประมาณองศาที่ 6 ของราศีมีนในระบบดาราศาสตร์โบราณ
    ค่าองศาที่มันเปลี่ยนจุดวิษุวัตนี้ทางตะวันตกเรียกว่า ปรากฏการณ์ precession หรือที่นักโหราศาสตร์ไทยและอินเดียในปัจจุบันเรียกว่า ค่าอายนางศะ (Ayanamsa) นั่นเอง ปรากฏการณ์ precession คือปรากฏการณ์หมุนควงของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล เป็นหลักการณ์ทางฟิสิกข์ดาราศาสตร์ เกิดกับดาวเคราะห์ที่หมุนเพราะมีแรงกระทำจากภายนอก ในที่นี้ก็คือแรงโน้มถ้วงของดวงอาทิตย์เอง ที่ทำให้ดาวเคราะห์ต่าง ๆ หมุนรอบตัวเอง ซึ่งโลกก็หมุนรอบตนเองเพราะเหตุนี้ และการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์นั้นทำให้เกิดการหมุนควงเหมือนกับลูกข่างใกล้ล้มไปด้วยในตัวเอง


จุดวสันตวิษุวัตเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกต่อหน้าดวงดาวที่เป็นฉากหลัง ภาพประกอบนี้แสดงจุดวิษุวัตตามสุริยุปราคาในช่วง 6,000 ปี

เมื่อ  3000 ปีก่อน  ศาสนาคริส  ดาวเหนือ ชื่อ  ทูบัน   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะชี้ไปที่ ราศี  พฤษภ (Taurus)

เมื่อ  1000 ปีก่อน  ศาสนาคริส  ดาวเหนือเริ่มย้ายมา ชื่อ polais   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะชี้ไปที่ ราศี  เมษ (Aries)

เมื่อ  คศ 1000   ดาวเหนือ ชื่อ polais   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะชี้ไปที่ ราศี  มีน (Pisces)

ปัจจบัน คศ 2000   ดาวเหนือ ชื่อ polais   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะเริ่มย้ายไป ชี้ไปที่ ราศี  กุมภ์ (Aquarius)

ไม่สามารถ ระบุ ขอบเขตของวันได้ เพราะ  ขอบเขตของราศีไม่เท่ากัน ราศีพิจิกมีพื้นที่เพียง 7 องศาเท่านั้น และในปีหนึ่ง ๆ นั้นมีทั้งหมด 13 เดือน แต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันอีกด้วย 

No comments:

Post a Comment