Monday, January 24, 2022

นับราศีแบบไหนถึงถูกต้อง

 มีการวิเคราะห์ไว้ดังนี้

แบบที่ 1 คือ เริ่มที่กลางเดือนของราศีนั้นๆ (เป็นราศีที่เป็นหมู่ดาวบนฟ้าจริงๆ)
แบบที่ 2 คือ เริ่มราววันที่ 21-23 ของเดือนก่อน (เป็นแบบฝรั่งทางตะวันตกใช้แบ่งราศีกัน)

แบบที่ 1 เริ่มนับจากกลางเดือน

เป็นราศีที่เป็นหมู่ดาวบนฟ้าจริงๆ  แบบ Sidereal Year  (365.256363 วัน)โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อิงกับดาวฤกษ์  พวกชอบเพ้อเจ้อ วันๆ เอาแต่ดูดวงชะตา ไร้สาระสิ้นดี

ผู้ที่เกิดราศีเมษ : ตั้งแต่ 13 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม
ผู้ที่เกิดราศีพฤษก : ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน
ผู้ที่เกิดราศีเมถุน : ตั้งแต่ 15 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม
ผู้ที่เกิดราศีกรกฎ : ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม

ผู้ที่เกิดราศีสิงห์ : ตั้งแต่ 16 สิงหาคม – 16 กันยายน
ผู้ที่เกิดราศีกันย์ : ตั้งแต่ 17 กันยายน – 16 ตุลาคม
ผู้ที่เกิดราศีตุลย์ : ตั้งแต่ 17 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน
ผู้ที่เกิดราศีพิจิก : ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม

ผู้ที่เกิดราศีธนู : ตั้งแต่ 16 ธันวาคม – 14 มกราคม
ผู้ที่เกิดราศีมังกร : ตั้งแต่ 15 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์
ผู้ที่เกิดราศีกุมภ์ : ตั้งแต่ 13 กุมภาพันธ์ – 14 มีนาคม
ผู้ที่เกิดราศีมีน : ตั้งแต่ 15 มีนาคม – 12 เมษายน


แบบที่ 2 คือ เริ่มราววันที่ 21-23 ของเดือนก่อน

เป็นแบบฝรั่งทางตะวันตกใช้แบ่งราศีกัน   แบบ Vernal Equibnox  สุริยวิถี ตัดกับแกนหมุนของโลก  แบบนี้จะเรียกว่า  Tropical year มีค่าเท่ากับ (365.24219 )วัน  ฤดูกาล จะตรงกับ ปี ปฏิทินทำให้คนทั้วไป ทำอาชีพเพาะปลูกได้ วางแผน ล่วงหน้าในการประกอบอาชีพ

ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้

                วสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน

                คิมหันตฤดูหรือฤดูร้อนตั้งแต่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กันยายน

                สารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วงตั้งแต่ 22 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม

                เหมันตฤดูหรือฤดูหนาว : ตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มีนาคม

วสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ

           – (21 มี.ค. – 20 เม.ย.)

            – (21 เม.ย. – 20 พ.ค )

            – (21 พ.ค – 20 มิ.ย. )


กลุ่มดาวพฤษภ (Taurus) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ วัว – (21 เม.ย. – 20 พ.ค.)
กลุ่มดาวเมถุน (Gemini) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ คนคู่– (21 พ.ค. – 21 มิ.ย.)
กลุ่มดาวกรกฏ (Cancer) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ ปู – (22 มิ.ย. – 23 ก.ค.)
กลุ่มดาวสิงห์ (Leo) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ สิงโต– (24 ก.ค. -23 ส.ค)

กลุ่มดาวกันย์ (Virgo) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ หญิงสาว– (24 ส.ค. – 23 ก.ย.)
กลุ่มดาวตุล (Libra) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ คันชั่ง– (24 ก.ย. – 23 ต.ค.)
กลุ่มดาวพิจิก (Scorpio) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ แมงป่อง – (24 ต.ค. – 22 พ.ย.)
กลุ่มดาวธนู (Sagittarius) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ ธนู – (23 พ.ย. -21 ธ.ค.)

กลุ่มดาวมกร (Capricorn) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ แพะทะเล – (22 ธ.ค. – 20 ม.ค.)
กลุ่มดาวกุมภ์ (Aquarius) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ คนแบกหม้อน้ำ – (21 ม.ค. – 19 ก.พ.)
กลุ่มดาวมีน (Pisces) สัญลักษณ์ประจำราศี คือ ปลาคู่ – (20 ก.พ. – 20 มี.ค.)



ปีศักราช


        จะเห็นว่าวิชาดาราศาสตร์ของชาวตะวันตกในปัจจุบันนั้น สวนทางกับวิชาดาราศาสตร์สมัยโบราณไปอย่างสิ้นเชิง ความขัดแย้งแรกที่สามารถรับรู้ได้คือ

  1. เรื่องจักรราศี หากถือตามคติของดาราศาสตร์อารยธรรมสินธุ และเมโสโปรเตเมีย ก็ต้องกล่าวว่า ปีหนึ่งมี 12 เดือน เดือนละประมาณ 30 - 31 วัน ตามขอบเขตของจักรราศีที่มีทั้งหมด 12 ราศี โดยแต่ละราศีมีพื้นที่เท่ากันทั้งหมดคือ 30 องศา
  2. แต่หากยึดตามทฤษฎีของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ ต้องกล่าวว่าราศีทั้งหมดมี 13 ราศี ขอบเขตของราศีไม่เท่ากัน ราศีพิจิกมีพื้นที่เพียง 7 องศาเท่านั้น และในปีหนึ่ง ๆ นั้นมีทั้งหมด 13 เดือน แต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันอีกด้วย  ราศีที่  13 คือ  NASA เพิ่ม 'คนแบกงู'

    และเนื่องจากหลักเกณฑ์การมองท้องฟ้าของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์แบบโบราณ มีลักษณะแตกต่างกันเช่นนี้ ทำให้ 0 องศาของราศีเมษ ของทั้ง 2 ระบบมีลักษณะแตกต่างกัน 
  • โดย 0 องศาราศีเมษของดาราศาสตร์แบบโบราณนั้น จะยึดที่ตำแหน่งกลุ่มดาวจริงบนท้องฟ้า ในหลักการดาราศาสตร์ของอินเดียก็ยึดว่า 0 องศาราศีเมษนั้น อยู่ตรงข้ามกับดาวจิตรา หรือดาวสไปกาของกลุ่มดาวราศีกันย์แบบพอดิบพอดี
  • แต่ 0 องศาราศีเมษของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์นั้นไม่เหมือนกัน เขาไม่สนใจกลุ่มดาวอะไรทั้งสิ้น เขาสนใจเพียงจุดวิษุวัต (equinox) หรือจุดราตรีเสมอภาคเท่านั้น จุดราตรีเสมอภาคคือจุดที่ทำให้เวลากลางวันและกลางคืนมีระยะเวลา 12 ชั่วโมงเท่ากัน ในปีหนึ่งนั้นจะมีเพียง 2 ระยะเท่านั้น ระยะแรกเรียกว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เกิดขึ้นประมาณวันที่ 20 - 21 มีนาคมของทุกปี และระยะที่สองคือ ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เกิดขึ้นประมาณวันที่ 22 - 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งจุดวิษุวัตนี้ มันเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง หากเทียบกับแผนที่ดาราศาสตร์แบบโบราณ หรือแบบโหราศาสตร์ที่เราใช้กันทุกวัน จุดวิษุวัตจะอยู่ที่ประมาณ 6 องศาราศีมีน เนื่องจากมันเคลื่อนจาก 0 องศาราศีเมษเดิมตามระยะจริงของกลุ่มดาว เข้าไปในกลุ่มดาวราศีมีนทีละน้อยประมาณ 50 ฟิลิปดาต่อปี ในปัจจุบันนี้เคล่ื่อนไปประมาณ 24 องศาแล้ว พูดง่าย ๆ ตามภาษาชาวบ้านคือ มันล้ำเข้าไปในราศีมีน 24 องศา หรือประมาณองศาที่ 6 ของราศีมีนในระบบดาราศาสตร์โบราณ
    ค่าองศาที่มันเปลี่ยนจุดวิษุวัตนี้ทางตะวันตกเรียกว่า ปรากฏการณ์ precession หรือที่นักโหราศาสตร์ไทยและอินเดียในปัจจุบันเรียกว่า ค่าอายนางศะ (Ayanamsa) นั่นเอง ปรากฏการณ์ precession คือปรากฏการณ์หมุนควงของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล เป็นหลักการณ์ทางฟิสิกข์ดาราศาสตร์ เกิดกับดาวเคราะห์ที่หมุนเพราะมีแรงกระทำจากภายนอก ในที่นี้ก็คือแรงโน้มถ้วงของดวงอาทิตย์เอง ที่ทำให้ดาวเคราะห์ต่าง ๆ หมุนรอบตัวเอง ซึ่งโลกก็หมุนรอบตนเองเพราะเหตุนี้ และการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์นั้นทำให้เกิดการหมุนควงเหมือนกับลูกข่างใกล้ล้มไปด้วยในตัวเอง


จุดวสันตวิษุวัตเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกต่อหน้าดวงดาวที่เป็นฉากหลัง ภาพประกอบนี้แสดงจุดวิษุวัตตามสุริยุปราคาในช่วง 6,000 ปี

เมื่อ  3000 ปีก่อน  ศาสนาคริส  ดาวเหนือ ชื่อ  ทูบัน   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะชี้ไปที่ ราศี  พฤษภ (Taurus)

เมื่อ  1000 ปีก่อน  ศาสนาคริส  ดาวเหนือเริ่มย้ายมา ชื่อ polais   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะชี้ไปที่ ราศี  เมษ (Aries)

เมื่อ  คศ 1000   ดาวเหนือ ชื่อ polais   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะชี้ไปที่ ราศี  มีน (Pisces)

ปัจจบัน คศ 2000   ดาวเหนือ ชื่อ polais   วันที่  วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) วันที่ 21 - 22 มีนาคมของทุกปี  ทิศตะวันออกของ โลกจะเริ่มย้ายไป ชี้ไปที่ ราศี  กุมภ์ (Aquarius)

ไม่สามารถ ระบุ ขอบเขตของวันได้ เพราะ  ขอบเขตของราศีไม่เท่ากัน ราศีพิจิกมีพื้นที่เพียง 7 องศาเท่านั้น และในปีหนึ่ง ๆ นั้นมีทั้งหมด 13 เดือน แต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันอีกด้วย 

Sunday, January 23, 2022

ประวัติศาสตร์ปฎิทินโลก

 อารยธรรมต่างๆ ของ โลก

ประวัติชาว สุเมเรียน 1

ประวัติชาว สุเมเรียน 2

ประวัติชาว สุเมเรียน 3

อาณาจักรบาบิโลน


ย้อนรอยประวัติศาสตร์ปฏิทิน
    เริ่มต้นจาก ปฏิทินสุเมเรียน (Sumerian Calendar) ถือกำเนิดมาราว 3,000 BC
  ปีก่อนคริสกาล เป็นปฏิทินจันทรคติของชาวสุเมเรียน ที่คำนวนการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ กำหนดให้วันที่พระจันทร์ขึ้น 1 ค่ำเป็นวันแรกของเดือน



ปฏิทินบาบิโลน (Babylon Calendar)
     นักโบราณคดีค้นพบว่าชนชาติแรกที่คิดค้นระบบการนับวันแบบปฏิทินคือ ชาวบาบิโลเนียน โดยการกำหนดวัน เดือน ปี จากการสังเกตระยะของดวงจันทร์ หรือข้างขึ้นข้างแรม เมื่อเกิดข้างขึ้นข้างแรมครบ 1 รอบถือเป็น 1 เดือน 
ปฏิทินนี้ถูกเรียกว่า ปฏิทินจันทรคติ นอกจากนี้ชาวบาบิโลเนียนยังกำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือนด้วย เนื่องจากสังเกตว่า เมื่อข้างขึ้นข้างแรมครบ 12 รอบฤดูกาลจะเวียนกลับมาอีกครั้ง อาณาจักรข้างเคียง เช่น ชาวอียิปต์โบราณ ชาวกรีก และชาวเซเมติก ได้นำระบบปฏิทินแบบจันทรคติมาพัฒนา ให้มีความแม่นยำมากขึ้น 



ปฏิทินอียิปโบราณ
    ปฏิทินที่มีการกล่าวถึงและเป็นต้นแบบของปฏิทินในแบบปัจจุบันก็คือ ปฏิทินที่ออกแบบโดยชาวอียิปต์ในช่วงแรก ชาวอียิปต์นำเอาระบบจันทรคติมาใช้ในการกำหนดสัญญาการยืมข้าว โดยใช้ข้างขึ้นเป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวงที่สุดเป็นคืนแรกไปจนถึงคืนที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งถัดไปถือเป็นการครบหนึ่งรอบ หรือหนึ่งเดือน และใช้หลักการนี้เป็นการทำสัญญาการยืมข้าวของชาวนาที่ยืมข้าวมากิน 

แต่การนับเวลาแบบจันทรคติ ในเดือนหนึ่งพระจันทร์เต็มดวงมีไม่เท่ากันทำให้บางเดือนมีวันที่ไม่เท่ากัน บางเดือนมี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ซึ่งทำให้จำนวนวันในหนึ่งปีมีไม่เท่ากัน ชาวอียิปต์โบราณจึงทำการปรับเปลี่ยนปฏิทิน โดยยึดหลักแบบสุริยคติ คือ 1 ปีมี 12 เดือน 1 เดือนมี 30 วัน แล้วมีวันพิเศษอีก 5 วันเพื่อเป็นวันเฉลิมฉลอง การสร้างระบบเดือนแบบสุริยคติยังเป็นการกำหนดฤดูเพาะปลูกอีกด้วย ฤดูกาลเพาะปลูกกำหนดจากความเป็นไปของธรรมชาติและการเพาะปลูก โดย 1 ปีมี 3 ฤดู ฤดูละ 4 เดือน 

วันแรกของปีคือวันที่ดาวซิริอุสปรากฏบนขอบฟ้า ตรงกับฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมตลิ่งแม่น้ำไนล์ อันเป็นสัญญาณถึงความอุดมสมบูรณ์ที่จะเกิดขึ้นตลอดปี

ปฏิทินโรมัน

ซึ่งใช้ในช่วงที่ชาวโรมันเรืองอำนาจ มีปฏิทินดังนี้

1. ปฏิทินโรมิวลุส (Calendar of Romulus)

 นักเขียนชาวโรมันอ้างว่าปฏิทินของพวกเขาถูกคิดค้นโดยรอมิวลุสผู้ก่อตั้งกรุงโรม (ประมาณ 753ปีก่อนคริสตกาล) ปฏิทินฉบับนี้เริ่มต้นตามการเกิด วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) ซึ่งเกิดในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมของปฏิทินปัจจุบัน ดังนั้นปฏิทินโรมันจึงเริ่มต้นที่เดือนมีนาคมไม่ใช่มกราคม และปฏิทินฉบับนี้ก็มีเพียงแค่ 10 เดือนเท่านั้น ดังนี้

 มีนาคม (Martius: Mar) 31 วัน

 เมษายน (Aprilis: Aphrodite) 30 วัน

  พฤษภาคม (Maius: Maia) 31 วัน

 มิถุนายน (Iunius: Juno) 30 วัน

 กรกฎาคม (Quintilis: quinque คือ 5) 31 วัน

 สิงหาคม (Sextilis: sex คือ 6) 30 วัน

 กันยายน (September: septem คือ 7) 30 วัน

 ตุลาคม (October: คือ octo 8) 31 วัน

 พฤศจิกายน (November: novem คือ 9) 30 วัน

 ธันวาคม (December: decem คือ 10) 30 วัน

 ตามปฏิทินจะมีเดือนที่มี 31 วันอยู่สี่เดือนได้แก่ มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม ตุลาคม ส่วนเดือนอื่นๆ มี 30 วัน รวมแล้วจะมีวันเพียงแค่ 304 วันเท่านั้น ส่วนวันในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่สิ้นเดือนธันวาคมถึงเริ่มเดือนมีนาคมไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในปฏิทิน (ส่วนจะมีการนับวันต่อในช่วงหน้าหนาวต่ออย่างไรนั้นผมยังไม่ได้ค้นครับ) ส่วนการตั้งชื่อสี่เดือนแรกตั้งตามชื่อเทพ และเดือนที่ห้าถึงสิบ ตั้งตามลำดับตัวเลข

2. ปฏิทินนูม่า (Calendar of Numa)

 Numa Pompilius (ประมาณ 753 - 673 ปีก่อนคริสตกาล; ครองราชย์ 715 - 673 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์องค์ที่สองแห่งโรมดั้งเดิมได้ปรับเปลี่ยนปฏิทินใหม่ (ประมาณ 713 ปีก่อนคริสตกาล) โดยเพิ่มเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เข้าไป

  

 แม้ว่ากษัตริย์นูม่าจะต้องการให้ปฏิทินจันทรคติมี 354 วันก็ตาม แต่ตามความเชื่อของชาวโรมันเชื่อว่าเลขคี่คือเลขแห่งโชค ดังนั้นเขาจึงได้เพิ่มวันเข้าไปอีก 51 วันแทน (กลายเป็น 355 วัน) และปรับจำนวนวันของแต่ละเดือนให้เป็นเลขคี่ทั้งหมด คือ 31 และ 29 วัน ก็จะเหลือวันที่ยังไม่มีเดือนทั้งหมด 57 วัน และ 57 วันนี้เองที่ได้นำมาแบ่งให้กับเดือนมกราคม 29 วัน และเหลือให้เดือนกุมภาพันธ์ 28 วัน

 มกราคม (Ianuarius: Janus) 29 วัน

 กุมภาพันธ์ (Februarius: Februa) 28 วัน

 มีนาคม 31 วัน

 เมษายน 29 วัน (จาก 30 วัน)

 พฤษภาคม 31 วัน

 มิถุนายน 29 วัน (จาก 30 วัน)

 กรกฎาคม 31 วัน

 สิงหาคม 29 วัน (จาก 30 วัน)

 กันยายน 29 วัน (จาก 30 วัน)

 ตุลาคม 31 วัน

 พฤศจิกายน 29 วัน (จาก 30 วัน)

 ธันวาคม 29 วัน (จาก 30 วัน)

 เดือนกุมภาพันธ์ยังถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนอีกด้วย ส่วนที่หนึ่งมี 23 วัน โดยวันที่ 23 ถือว่าเป็นวันสิ้นปีทางศาสนา และส่วนที่สองก็จะเหลือแค่ 5 วัน

  

 นอกจากนี้ เพื่อให้ปฏิทินใกล้เคียงกับปีทางสุริยคติ (Solaris Year) และไม่กระทบต่อวันและเทศกาลตามประเพณีของพวกเขา ในบางปีจึงมีการแทรกวันเข้าไประหว่างส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ และทำให้ส่วนที่สองนี้ถูกรวมเข้ากับวันที่แทรกเข้ามาทำให้ส่วนที่สองมี 27 วัน (Mercedonius / Intercalaris) ผลของการเพิ่มวันก็คือ ปีอธิกสุรทินจะนานถึง 377 หรือ 378 วันเลยทีเดียว (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวอธิกมาสของปฏิทินโรมันได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Intercalary_month และ http://en.wikipedia.org/wiki/Mercedonius)

  

 อย่างไรก็ตามระบบการแทรกวันของปฏิทินนี้ก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างน้อยถึง 2 ครั้ง ที่เด่นชัด เช่น

 เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามระหว่างโรมกับคาร์เธจครั้งที่สอง (The Second Punic War)

 เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสตกาล

  ปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar)

จากปัญหาดังกล่าว 
    กระทั่งช่วง 46 BC  ปีก่อนคริสตศักราช จูเลียส ซีซาร์ แห่งกรุงโรม เข้ายึดอียิปต์ ในสมัยพระนางคลีโอพัตรา และได้นำความรู้ทางดาราศาสตร์และนำปฏิทินของชาวอียิปต์มาปรับเปลี่ยนปฏิทินโรมันให้มีความแม่นยำมากขึ้น 

ปฏิทินจูเลียนได้รับอิทธิพลมาจากปฏิทินปวงชนของอียิปต์จากการใช้จำนวน 365 วันเท่ากันและเป็นการผสมระหว่างสุริยคติกับจันทรคติ เดือนมีการผสมกันทั้งแบบ 30 และ 31 วัน มีการเพิ่มวันอธิกสุรทินเข้าไปด้วยในทุกๆ 4 ปี

ในปฏิทินจูเลียน 1 รอบมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์ยังเพิ่ม อธิกวาร ทุกๆ สี่ปี เฉลี่ยต่อปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน 

ก่อนที่จะอธิบายต่อ มาเข้าใจศัพท์ทางดาราศาสตร์ก่อน

Year (เยียร์) เป็นเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ ซึ่งมีแตกต่างกันตามการใช้จุดอ้างอิง
    Anomalistic Year   สัมพันธ์กับตำแหน่ง perihelion (ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์) เท่ากับ  365.25964 วัน มากกว่า Sidereal Year  4 นาที 43.5 วินาที 
    Eclipse Year  เป็นช่วงระหว่างที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านจุดโหนดเดิมของวงโคจรของดวงจันทร์ มีค่าเพียง 346.62003 วัน  มีค่าที่แตกต่างจากค่าที่สุด เนื่องจาก โหนดของดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกปีละ 19 องศา ทำให้ดวงอาทิตย์ซ้ำจุดโหนดเดิมเร็วกว่าปกติ
    Sidereal Year  หมายถึงโลกโคจร 1 รอบดวงอาทิตย์โดยใช้ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าเป็นจุดอ้างอิง มีค่าเท่ากับ 365.256363 วัน ปกติเราจะหมายถึง ปีในความหมาย Sidereal Year มากกว่า
    Tropical Year   หมายถึง 1 รอบของดวงอาทิตย์โดยอ้างอิงกับจุด vernal equinox  มีค่าเท่ากับ 365.24219 วัน  เนื่องจากการส่ายของแกนโลกทำให้จุด Vernal Equinox  เคลื่อนไปตามแนวเส้นอิคลิปติดด้วย ทำให้ระยะเวลาสั้นกว่า Sidereal Year  20 นาที


   


Length of Tropical Year 2010–2030

  ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้

                วสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน

                คิมหันตฤดูหรือฤดูร้อนตั้งแต่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กันยายน

                สารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วงตั้งแต่ 22 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม

                เหมันตฤดูหรือฤดูหนาว : ตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มีนาคม



ในการสร้างปฏิทินสุริยคตินั้นมักจะพยายามปรับให้ปีปฏิทินตรงกับ
  1. ปีทางสุริยคติ  (Sidereal Year)   365.256363  หรือ 
  2. ปีฤดูกาลดาราศาสตร์ (Tropical Year)  หรือ 365.24219 วัน 
โดยปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ปฏิทินของ จูเลียน 
จะผิดไปจากปีฤดูกาลปีละ  365.25 – 365.24291 = 0.00781 วัน
คือ  1 ปี เกินไป   0.00781 วัน   หรือจะคำนวนได้ว่า  ทุก 128  ปีมีวันเกินมา  1 วัน
        เกินมา  0.00781  วัน   ใช้เวลา  =   1 ปี
          "               1      วัน       "        =   1/0.00781   =  128 ปี


ปฏิทินเกรกอเรียน (Gregorian Calendar)
   เกร็ดประวัติ
 ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ของอาณาจักรโรมัน และที่ประชุมแห่งไนเซีย (The Council of Nicaea) ตัดสินว่าเทศกาลอีสเตอร์ควรต้องตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา วันอีสเตอร์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์นั้น จะเป็นวันอาทิตย์แรก หลังพระจันทร์เต็มดวงในวัน Spring Equinox ซึ่งอาจจะเป็นวันไหนก็ได้ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม-25 เมษายน

เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน 1 ปี ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น  นานกว่าปีฤดูกาลจริง  (Tropical Year) (365.24219วัน) อยู่เล็กน้อย  (สาเหตุ)
     ดังนั้น (ผลที่เกิดขึ้น)ทำให้วัน วสันตวิษุวัต ของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย 
    แนวทางแก้ไข  เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) vernal equinox จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน
ทำไมต้องปฏิรูปปฏิทิน
    เพราะสมัยก่อน ศาสนามีอิทธิพล ต่อคนในยุโรปมาก  ขนาด สั่งเผาคนทั้งเป็นได้ ถ้าใครลบหลู่ ศาสนา  และพยายาม สร้าง ปราฏิหารต่างๆ เพื่อให้คนศรัธรา ดังนั้น 
    ในปี 1572 Ugo Boncompagni กลายเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ได้เกิดวิกฤตของปฏิทินดังนี้ 
  • วันที่สำคัญที่สุด วันอีสเตอร์ วันหนึ่งของศาสนาคริสต์ ตกอยู่เบื้องหลังเมื่อเทียบกับฤดูกาล(ช้าเกินไป) 
  • เทศกาลอีสเตอร์ซึ่งเป็นไปตามวันที่เป็นวันอีควิน็อกซ์ (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) มีการเฉลิมฉลองตามปรกติไปในเดือน มีนาคม 
  • เมื่อทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่ตรงกัน จึงเป็นสาเหตุของความสับสนในปฏิทินนี้
  1. คือปฏิทินจูเลียนที่มีอายุมากกว่า 1,600 ปีซึ่งก่อตั้งโดย Julius Caesar ในปี 46 ก่อนคริสตศักราช
  2. ปฏิทินของ Caesar เกือบจะแม่นยำ แต่ก็ยังไม่แม่นยำเพียงพอเนื่องจากปีเขตร้อน (Tropical Year)ไม่ใช่ 365 วันและ 6 ชั่วโมง (365.25 วัน) แต่จะอยู่ที่ประมาณ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาทีและ 46 วินาที (365.242199 วัน) ดังนั้นปฏิทินของ Julius Caesar จึงช้าเกินไป 11 นาที 14 วินาที ถ้าจะให้แม่นยำ ต้องเพิ่มขึ้นเป็นวันหยุดเต็มวันทุกๆ 128 ปี
   จากปัญหาดังกล่าว ของปฏิทิน จูเลียน  ที่ทุกๆ  128 ปี  จะเกินมา  1 วัน

ทั้งนี้ได้พบว่า ตั้งแต่สถาปนาศาสนาคริสต์ในอาณาจักรโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 3 (หมายความว่า ศาสนาคริสต์มีมาตั้งนานแล้ว แต่อาณาจักรโรมัน ยังไม่นับถือ มานับถือตอนที่ คศ 300)
ดังนั้น  ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1582 พระสันตะปาปาเกรกอเรียนที่ 13 ได้เปลี่ยนปฏิทินจากระบบจูเลียนมาเป็นระบบเกรกอเรียน  ช่วงอายุที่ใช้ปฏิทิน จูเลียน คือ  1582 - 300 = 1,282 ปี
ดังนั้นจำนวนวันที่ เกินมา  128  ปี  เกินมา  1 วัน
    ถ้า                                 1282 ปี  เกินมา  1282/128 = 10.02 วัน
เมื่อเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินเกรกอเรียน  จึงต้องลบออก   10 วัน เพื่อให้ใกล้เคี่ยง กับปี (Tropical Year)มากที่สุด ปฏิทินตรงกับ ฤดูกาลมากที่สุด

การแก้ปัญหาของปฏิทินเกรกอเรียน
  1. ในปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ หรือมี 366 วัน เราจะเรียกว่า ปีอธิกสุรทิน (leap year) ส่วนปีที่ไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เราจะเรียกกว่า ปีปกติสุรทิน (common year)
  2. * สูตรการหาปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์  (366วัน)

    ในปฏิทินจูเลียน ปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ จะเป็นปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว เท่านั้น

    แต่ของ ปฏิทินเกรกอเรียนนั้น มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นอีก สำหรับวิธีการหาว่าปีใดมี 366 วัน จะต่างจากปฏิทินจูเลียนเพียงเล็กน้อย นั่นคือ

  •  สำหรับปี ค.ศ. ที่ไม่ลงท้ายด้วย 00 ถ้าปีใดหารด้วย 4 ลงตัว ปีนั้นมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์
  •  สำหรับปี ค.ศ. ที่ลงท้ายด้วย 00 ถ้าปีใดหารด้วย 400 ลงตัว ปีนั้นมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์

จากตัวอย่างนี้เราจะได้ว่าในปฏิทินเกรกอเรียน ค.ศ. 1804 และ ค.ศ. 2000 จะที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ส่วน ค.ศ. 1901 และ ค.ศ. 2100 จะไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์

มีข้อสังเกตว่าในปี ค.ศ. 2100 ในปฏิทินจูเลียนจะมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ซึ่งต่างจากปฏิทินเกรกอเรีย

ด้วยการแก้ปัญหาของ ปฏิทินเกรกอเรีย  จึงทำให้ 1 ปีปฏิทินเกรกอเรียนเท่ากับ 365.2425 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับปี Tropical Year(365.24219วัน) มากยิ่งขึ้น

เราคำนวณได้ว่า ปฏิทินเกรกอเรียนจะผิดไปจากปีฤดูกาลเหลือเพียงปีละ
365.2425 – 365.24219 = 0.00031 วัน  

ถ้าจะคิดเป็น กี่ปี ถึงหายไป  1 วันได้ดังนี้

        เกินมา  0.00031  วัน   ใช้เวลา  =   1 ปี
          "               1      วัน       "        =   1/0.00031   =  3,325.8 ปี
จะเห็นว่ายาวนานมาก ซึ่งของ ปฏิทิน จูเลียน  ระยะเวลาแค่   128 ปี
ยาวนานกว่า คาบการส่ายของแกนโลก ในการเปลี่ยน ราศี = 2,160 ปี

ศาสนจักรควรจะทำอย่างไรกับปัญหา 10 วันนี้  ถ้าเป็นผู้อ่านจะแก้ปัญหานี้อย่างไร 

ปัญหาคือ

  1. หายไป  10 วัน ดอกเบี้ย หายไป เจ้าหนี้ไม่พอใจ
  2. อายุแก่ไป  1 ปี  อายุราชการหายไป  1 ปี
  3. รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง
 ศาสนจักร แก้ปัญหาดังนี้

คนที่ได้ยินครั้งแรกมักจะอึ้ง เพราะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เข็มขัดสั้น

วิธีแก้คือ 

  1. ได้ประกาศตัดวัน 10 วันออกจากปฏิทิน โดยลบวันที่ 5-14 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ออกจากปฏิทินหลวงโรมัน แต่ทำให้ฤดูกาลกลับมาถูกต้องอีกครั้ง
  2. ปีใหม่จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม แทนที่จะเป็น วันที่ 25 มีนาคม
  3. และจะมีวิธีการใหม่ในการกำหนดวันอีสเตอร์

อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ถ้าวันนี้เป็นวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 พอตื่นเช้าขึ้นมาจะไม่ใช่วันที่ 5 ตุลาคม แต่จะเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1582 

คนยุคนั้นต้องรู้สึกตะลึงกับการเปลี่ยนแปลงนี้มากอย่างแน่นอน เพราะ เงินหายไป

ถ้าท่านเป็นคนในยุคนั้น ท่านจะคิดอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงนี้บ้างครับ


สรุป

  1. ปฏิทิน จูเลียน  1 ปี ปรกติ มี   365 วัน
  2. เพื่อชดเชยให้ใกล้เคียง ปี Tropical Year(365.24219วัน)  เขาทำแบบนี้
    1. เพิ่ม 1 วันทุก 4 ปี ในเดือน กุมภาพันธ์  (คศ หารด้วย 4 ลงตัว)
    2. การทำตามข้อ  2.1 ทำให้  1 ปี เฉลี่ย =  365.25 วัน 
    3. ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร ก็จะผิดพลาดมากขึ้น
    4. จากข้อ 2.3  128 ปี เกินมา  1 วัน
    5. ตั้งแต่กรุงโรม รับเอา คริสศาสนามา จนถึง โป๊ป #13 กินเวลา  1282 ปี เวลา คลาดเลือนไป  10 วัน
      เพื่อแก้ปัญหาของ ปฏิทิน จูเลียน ที่วันเกินมา เพราะ เพิ่ม วันที่  29 มากเกินไป

จึงเพิ่มเงือนไข การหาร 4 ขึ้นมา   (ง่ายจังวุ้ย)

  • ถ้าปีใดที่ลงท้ายด้วย 00 ปรกติหารด้วย 4 ลงตัวอยู่แล้ว (ทำให้วันเกินมา)  ก็แก้เป็น
  • ถ้าปีใดที่ลงท้ายด้วย 00 ต้องหารด้วย 400 ลงตัวเท่านั้น ถึงจะมี  29 วัน  ทำให้ การเพิ่มวันน้อยลงมา       1 ปี เฉลี่ย จึงลดลงมา เหลือแค่ =  365.2425 วัน
นับราศีแบบไหนถึงถูกต้อง
    ราศีเมษ คือวันไหน
    แบบที่ 1 
      • 13 เมษายน-14 พฤษภาคม (เริ่มที่กลางเดือนของราศีนั้น)
      แบบที่ 2 
      • 21 มีนาคม-20 เมษายน (เริ่มราววันที่ 21-23 ของเดือนก่อน)


      Friday, May 15, 2020

      ยอดนักประดิษฐ์ หญิงขวัญใจชาว แอฟริกันที่ยากจน

      คิดค้นตู้เย็นไม่ใช้ไฟฟ้า ขวัญใจชาว แอฟริกันที่ยากจน   เธอผู้นั้นคือ

      เอมิลี่ คัมมินส์ (Emily Cummins)

      ประวัติ
      สาวชาวอังกฤษผู้นี้ เมื่ออายุสี่ขวบเธอได้รับค้อนเป็นของขวัญจาก คุณตา ทำให้ เอมิลี่มีของเล่นที่ถูกใจและชอบใช้เวลาส่วนใหญ่ช่วยคุณตาทำงาน ซึ่ง ณ เวลานั้น เอมิลี่ไม่รู้เลยว่า เป็นจุดหล่อหลอมให้เธอเมื่อเติบโตขึ้นเป็นนักประดิษฐ์
      นอกเสียจากมีของเล่นตามประสาเด็กๆ  

      แต่ละวันใน โรงเก็บของกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่เอมิลี่ตัวน้อยขลุกอยู่วันละหลายชั่วโมงโดยไม่เบื่อ
      เธอเพลิดเพลินกับการเฝ้ามองคุณตาสร้างของเล่นหรือประกอบกล่องเครื่องประดับจากวัสดุเหลือใช้ ขณะเดียวกันก็ลงมือ ก็อกๆ แก็กๆ ทำโน่นนี่นั่นเองบ้างตามประสา เด็กๆ  โดยมีคุณตาคอยสอนและให้คำแนะนำอยู่ไม่ห่าง
      ภาพจำและประสบการณ์ความสนุกสนานเหล่านี้ สร้าง เด็กหญิงเข้าสู่ห้วงความเชื่อมั่นว่า เธอสามารถประดิษฐ์ทุกสิ่งทุกอย่างได้จากวัสดุเหลือใช้
      ขอเพียงมีเครื่องมือช่างของคุณตาเป็นอาวุธคู่กาย

      คุณ ตาคงไม่ได้ให้ฆ้อนเล่มนี้ นะครับ


      ผลงานชิ้น แรก
      วันเวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก สร้างเสริมความรู้จัก

      ประเภทวัสดุหลากหลายขยายวงกว้าง ในขณะเดียวกัน ทักษะการใช้เครื่องมือนานาชนิดที่เพิ่มพูน
      เอมิลี่ หลงเสน่ห์งานอดิเรกเชิงช่างเข้าเต็มเปา
      กระทั่งเปล่งประกายฉายแววนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ด้วยวัย ๑๕ ปีกับ เป็นชิ้นแรก คือ 
      “เครื่องช่วยบีบยาสีฟัน”
      ผลงานสร้างสรรค์มีแรงบันดาลใจจากอาการข้ออักเสบของคุณปู่
      ซึ่งส่งผลให้ชายชราบีบยาสีฟันได้อย่างยากลำบาก
      เอมิลี่แก้ปัญหาโดยเปลี่ยนการบีบเป็นการกด
      เธอสร้างกล่องใส่หลอดยาสีฟันพร้อมคันโยก
      เพียงใช้กำปั้น ข้อมือ แขน หรือข้อศอกกดคันโยกเบาๆ กลไกภายในจะบีบให้ยาสีฟันไหลออกมาอย่างง่ายดาย แถมยังรีดเนื้อยาสีฟันได้หมดเกลี้ยงตั้งแต่ก้นหลอด

                                                                                        

      ผลงานชิ้น สอง                                          
      แล้วความสนใจใช้สิ่งประดิษฐ์แก้ปัญหาให้คนใกล้ตัว
      ก็คืบคลานเป็นจริงเป็นจังในการแก้ปัญหาของประเทศ
      กำลังพัฒนาในช่วง ที่เอมิลี่ยังเป็นนักเรียนไฮสคูลนั่นเอง
      เริ่มจากงานออกแบบรถเข็นบรรทุกถังน้ำ
      ที่ช่วยให้ผู้หญิงและเด็กๆ ในทวีปแอฟริกา
      ขนน้ำกลับบ้านในปริมาณมากขึ้นในแต่ละเที่ยวที่ออกเดินหาแหล่งน้ำ







      ผลงานสร้างชื่อใน  3 โลก
      “ตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้า” ผลงานชิ้นยอดเยี่ยมซึ่งกวาดรางวัล
      และสร้างชื่อให้สาวชาวอังกฤษผู้นี้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง


      เอมิลี่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและการโหมใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เธอตั้งคำถามกับตัวเอง หากถึงวันที่พลังงานเข้าใกล้ภาวะขาดแคลนเครื่องไฟฟ้าชิ้นใดที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
      และพอจะมีหนทางสร้างใหม่ในแบบที่ไม่พึ่งพากระแสไฟฟ้าได้บ้าง หลังผ่านขั้นตอนหาข้อมูลเบื้องต้น คำตอบที่ตรงใจมากสุดก็คือตู้เย็น
      เธอทำการบ้านนอกห้องเรียนค้นคว้ากลไกผลิตความเย็นที่ไม่ซับซ้อนอยู่นานเป็นปี
      กระทั่งประดิษฐ์เครื่องต้นแบบของตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้ารุ่น ๑ ได้เป็นผลสำเร็จในปี ๒๐๐๖ อายุ 18 ปี
      จึงตัดสินใจใช้เวลาช่วงรอยต่อระหว่างจบการศึกษาชั้นมัธยม
      และรอสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยซึ่งจะว่างเว้นจากการเรียนประมาณ ๕ เดือน
      เพื่อออกเดินทางไปยังประเทศนามิเบีย ทวีปแอฟริกา ในฐานะอาสาสมัครด้านการศึกษา
      พร้อมกับหอบหิ้วสิ่งประดิษฐ์ไปทดสอบการใช้งานจริงในพื้นที่ไม่มี กระแสไฟฟ้า
      ปรากฏว่า เสียงตอบรับดีมาก
      เอมิลี่รู้ทันทีสิ่งประดิษฐ์ของเธอเอื้อประโยชน์ต่อชาวแอฟริกันอีกหลายพันชีวิต จึงไม่ลังเลที่จะเปิดห้องเรียนชั่วคราวและสอนให้ชาวบ้านที่นั่นได้ลงมือสร้างกันเอง
      เมื่อครบกำหนด เอมิลี่เดินทางกลับอังกฤษเพื่อเรียนต่อในสาขาการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยลีดส์
      ซึ่งแน่นอนว่าเธอไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว แต่แบ่งเวลาสำหรับงานพัฒนาตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้ารุ่น ๒
      โดยวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น อุณหภูมิต่ำกว่าเดิม ควบคุมความเย็นได้เสถียรกว่าเดิม
      และเพิ่มเติมความพิถีพิถันเข้าไปอีก เพื่อให้เหมาะสำหรับการผลิตขายในเชิงพาณิชย์
      ย้อนแนวคิดสิ่งประดิษฐ์ล่าสุด

      ว่ากันตามจริง
      เอมิลี่ไม่ใช่คนแรกหรอกนะที่คิดค้นบรรจุภัณฑ์ซึ่งอาศัยกลไกการระเหยของน้ำ ซึ่งเป็นหลักธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว(จะมีมนุษย์หรือไม่มี มันก็ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป  เช่นเดียวกับ องค์สัมมาพุทธเจ้า ที่ คิดได้ เรียกว่า ตรัสรู้ หลักความจริงทางธรรม)  เป็นตัวสร้างความเย็น
      เพราะหากย้อนกลับไปศึกษาอารยธรรมเมื่อราว ๓ พันปีที่แล้ว
      ชาวบ้านทางตอนเหนือของอียิปต์ต่างก็นิยมนำภาชนะดินเผาที่มีรูพรุน
      ไปแช่น้ำจนเปียกโชกแล้วใส่อาหารไว้ภายใน
      เพื่อว่าเมื่อน้ำระเหยออกจากเนื้อดินเผาอย่างช้าๆ
      อุณหภูมิภายในจะค่อยๆ ลดลง จึงช่วยให้อาหารเน่าเสียช้าลง

      นอกจากนี้ยังมีครูท้องถิ่นชาวไนจีเรียชื่อ โมฮัมหมัด บาห์อับบา
      ผู้ประดิษฐ์ระบบรักษาความเย็นเพื่อชะลอการเน่าเสียของอาหารสดหรือ
      “Pot-in-Pot Preservation Cooling System”
      ซึ่งก็ได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็นหนึ่งในนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แห่งปี  2001
      และคว้ารางวัลโรเล็กซ์พร้อมเงิน ๗๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว

      สิ่งประดิษฐ์ของคุณครูโมฮัมหมัดใช้ภาชนะดินเผาสองใบ
      ใบเล็กซ้อนอยู่ในใบใหญ่และเติมทรายเปียกลงในช่องว่างระหว่างภาชนะสองใบ
      บรรจุผลไม้และผักในภาชนะดินเผาใบเล็กจนเต็มแล้วปิดคลุมทั้งหมดด้วยผ้าเปียก
      สามารถยืดอายุการเก็บผักผลไม้ได้นาน ๓-๔ สัปดาห์



















      การทดลองที่มีประโยชน์


      links

      รายละเอียด ตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้าของ เอมิลี่

      ตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้าของเอมิลี่ผ่านการออกแบบให้ทำงานได้ดีกว่านั้น
      แม้ในภาพรวมมันประกอบขึ้นจากภาชนะทรงกระบอกที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น
      คล้ายกับผลงานของคุณครูโมฮัมหมัด แต่เธออธิบายว่า
      ภาชนะทรงกระบอกช่วยกระจายความเย็นได้ทั่วถึง จึงลดจุดอับที่แบคทีเรียจะเจริญเติบโต
      โดยใบใหญ่ด้านนอกสามารถดัดแปลงทำจากไม้ พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
      ขณะที่ช่องว่างระหว่างภาชนะจะอัดแน่นด้วยขนแกะ ขนสัตว์ ทราย ดิน หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ


      ส่วนที่เจ๋งที่สุดเห็นจะเป็นใบเล็กชั้นในซึ่งเอมิลี่กำหนดให้ทำจากโลหะที่ปิดมิดชิด
      เนื้อสัตว์ นม หรือยารักษาโรคที่บรรจุไว้ภายในจะไม่สัมผัสกับน้ำและความชื้นโดยตรง
      จึงอยู่ในสภาพแห้ง สะอาด และปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อโรค
      นั่นทำให้ผู้ใช้งานสามารถตักน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติใดๆ มาเติมเพื่อสตาร์ตการทำงานได้ทันที
      โดยไม่ต้องเสียเวลาจัดหาน้ำสะอาด
      หลังจากเติมน้ำและบรรจุของลงในภาชนะแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการตากแดด
      เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์น้ำจะค่อยๆ ระเหยเป็นไอ
      พร้อมกับดึงความร้อนจากภาชนะโลหะชั้นในออกมาด้วย
      อุณหภูมิจึงลดลงเรื่อยๆ โดยทำความเย็นได้ต่ำสุดที่ ๖ องศาเซลเซียส
      ทั้งกลไกไม่ซับซ้อนและเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นเหล่านี้ช่วยให้สิ่งประดิษฐ์ของเอมิลี่
      ใช้งานได้อย่างสะดวกเหมาะเหม็งในท้องถิ่นทุรกันดารที่ขาดแคลนทั้งไฟฟ้าและน้ำสะอาด
      …มันถูกอกถูกใจชาวนามีเบียถึงขนาดยกให้เธอเป็น “The Fridge Lady” ไปแล้ว

      ชีวิตในมหาวิทยาลัยลีดส์
      ครั้นก้าวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย ความยากยิ่งเพิ่มทวีคูณ
      เมื่อต้องจัดสมดุลระหว่างการเรียนและโครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่ชื่นชอบ
      โชคดีที่มหาวิทยาลัยลีดส์มองเห็นความกระตือรือร้นและความมุ่งมั่นพยายาม
      จึงสนับสนุนอย่างเต็มที่ นั่นเปิดโอกาสให้เอมิลี่จัดตารางเข้าเรียนสัปดาห์ละ ๒ วัน
      บ้านเรา ยังต้องเรียนเพิ่ม วันเสาร์ ( ติวเสริมพิเศษ วันอาทิตย์ แต่ก็ยัง ไม่ถึงดวงดาว)
      และมีเวลาสำหรับโปรเจ็คต์วิจัยนอกหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตู้เย็นไม่ง้อไฟฟ้าเจนเนอเรชั่นที่ ๒
      แถมยังสามารถสำเร็จการศึกษาด้วยปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเสียด้วย
      หลังจากหน้าที่การเรียนจบลงอย่างสวยงามในปี 2010
      เอมิลี่ตั้งใจทุ่มเทเวลาให้กับงานสองส่วนอย่างเต็มที่ 
      หนึ่งคือ  งานโครงการสิ่งประดิษฐ์เพื่อความยั่งยืนซึ่งจะเดินหน้าต่อไปไม่รู้จบ
      อีกหนึ่งคือ  งานในฐานะตัวแทนแคมเปญ “Make your Mark”
      ซึ่งต้องปลุกเร้าและสร้างกำลังใจให้คนรุ่นใหม่กล้าลงมือแปรรูปไอเดียที่วาดฝัน
      ให้ออกมาสู่โลกแห่งความจริง ด้วยการเดินสายบอกเล่าประสบการณ์
      และแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมแก่นักเรียนและผู้คนในชุมชนต่างๆ

      “การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อความยั่งยืน คุณต้องรักและตั้งใจแน่วแน่
      มันไม่ง่าย แต่ฉันจะบอกเสมอว่า ต้องเริ่มก้าวแรกให้ได้
      ต่อให้ล้มเหลวในตอนท้าย คุณก็ยังได้เรียนรู้บางอย่างในระหว่างก้าวเดิน”
      …เอมิลี่เชื่ออย่างนั้นจริงๆ


      เอมิลี่เพิ่งอายุ ๒๕ ปีเต็มเมื่อ 2/2013 
      ที่ผ่านมาหากเปรียบเทียบกับรายการรางวัลยาวเป็นหางว่าวที่เธอได้รับจากการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์   Award
      ก็ต้องยอมรับว่า นี่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย
      ที่สำคัญ มันไม่ใช่ความสำเร็จโดยง่ายหรือโดยบังเอิญ
      นับตั้งแต่การหาทุนเพื่อสานฝันตัวเอง นอกจากเงินเก็บส่วนตัว
      เธอยังขวนขวายล่ารางวัลจากเวทีประกวดงานออกแบบหรือสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักเรียน
      เธอทำงานพาร์ทไทม์ และเธอก็พาตัวเองเข้าไปคุยกับบริษัทท้องถิ่นเพื่อขอการสนับสนุนด้านวัตถุดิบ

      she met the Queen at Buckingham Palace after being invited to a prestigious women in business 


      หมายเหตุ-บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกผ่านทางคอลัมน์คนหมุนโลกบนเว็บไซต์ของมูลนิธิโลกสีเขียว
      ต้นฉบับ click            ผลงาน  Click
      หมายเหตุ
      อ่านจบแล้วหนูควรจะต้อง อธิบาย  Pure Science ได้ ดังนี้
      1. การระเหย (Evaporation)   VS    การกลายเป็นไอ (Vaporization)  
                   2 คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร  (ความรู้พื้นฐานนี้สำคัญมากถ้าไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ยากที่จะ จินตนาการต่อยอดแบบเหนือชั้น)
      2.   เพราะเหตุใด ภาชนะดินเผา (pottery) เมื่อใส่น้ำลงไป แล้วจะมีลักษณะพิเศษคือมีความเย็น
      3.   ให้อธิบายว่า ตู้เย็นของ โมฮัมหมัด กับ ของ เอมิลี่ แตกต่างกันอย่างไร บ้าง
      4. เมื่อหนู สามารถตอบคำถาม  1-3 ได้แล้ว ซึ่งมันคือ  Pure Science  ต่อไป จะเป็น จินตนาการแล้ว
            อยากทราบว่า  จินตนาการสิ่งแรกเลยคืออะไร
           เมื่อหนูได้ จินตนาการสิ่งแรกแล้ว
           พ่อจะให้ลูกสร้างผลงานชิ้นแรก ระดับชิงถ้วยชิงเหรียญ



      5.  ให้ออกแบบ ชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพกว่า ของ เอมิลี่ ในการควบคุมอุณหภูมิความเย็น
            โดย  มีต้นทุนในการทำประหยัด
                     ต้นทุนในการ operate ต่ำ

                    เหมาะสมที่ใช้ในประเทศของเรา
                    ถ้าเราสามารถควบคุมความเย็นได้  จะนำไปประยุกต์ใช้ทางด้านใด